ยูโอบี เปิดตัวกองทุน ‘บริลเลียนท์ พลัส ฟันด์’ ชูจุดเด่นลงทุนตราสารหนี้คุณภาพทั่วโลก กองทุนอสังหาฯ และกองทรัสต์ เพิ่มทางเลือกกระจายพอร์ตรับมือเศรษฐกิจชะลอตัว

บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด มองเศรษฐกิจทั่วโลกส่งสัญญาณชะลอตัวจากสงครามการค้าและเศรษฐกิจเข้าสู่ช่วงปลายของการเติบโต ตลอดจนการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินของธนาคารกลางประเทศต่างๆ ในขณะที่ตลาดหุ้นที่มีความผันผวนสูง แนะกระจายพอร์ตลงทุนในตราสารหนี้กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก รุกเปิดตัว กองทุนเปิด บริลเลียนท์ พลัส ฟันด์ (BPLUS) เตรียมขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) 22 – 29 พฤศจิกายนนี้ ชูจุดเด่นเป็นกองทุนรวมผสมแบบ Fund of Funds ที่กระจายการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ทั่วโลก กองทุนอสังหาริมทรัพย์ REITs  ต่างประเทศ และ กองทุนอสังหาฯ ไทย  


นางสาวรัชดา ตั้งหะรัฐ กรรมการผู้จัดการ สายพัฒนาธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด หรือ UOBAM เปิดเผยว่า จากภาวะเศรษฐกิจไทยและทั่วโลกที่ชะลอตัว ผลกระทบสงครามทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่ยืดเยื้อ ประกอบกับภาพรวมเศรษฐกิจอยู่ในช่วงวัฎจักรตอนปลายของการเติบโต การใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินของธนาคารกลางประเทศต่างๆ โดยการอัดฉีดสภาพคล่องและการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงมาอยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่การลงทุนในหุ้นมีความผันผวนสูง จึงแนะนำให้นักลงทุนกระจายการลงทุนในตราสารหนี้ทั่วโลกที่ให้โอกาสรับผลตอบแทนที่น่าสนใจและลดความผันผวนของพอร์ตลงทุน  รวมถึงลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ REITs  ที่สามารถให้โอกาสรับผลตอบแทนที่สม่ำเสมอจากเงินปันผล ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ


จากปัจจัยดังกล่าว บลจ. ยูโอบี เปิดเสนอขาย กองทุนเปิด บริลเลียนท์ พลัส ฟันด์’ (BPLUS) หรือ “Brilliant Plus Fund (BPLUS)” ซึ่งเป็นกองทุนเปิดประเภทกองทุนรวมผสมแบบ Fund of Funds ที่มีการกระจายการลงทุนในกองทุนทั้งในและต่างประเทศ และเป็นกองทุนรวมผสมที่ปัจจุบันคาดการณ์สัดส่วนการลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในตราสารหนี้ที่มีคุณภาพทั่วโลกประมาณ 80% และอีก 20%  ลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund) และ REITs เพื่อเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนสูงขึ้น


นางสาวรัชดา 
กล่าวว่า สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ สัดส่วนประมาณ 80% ประกอบด้วย การลงทุนผ่านกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ 2 กองทุน ประกอบด้วย 1กองทุน United SGD Fund (Class A-Acc USD (Hedged)) ในสัดส่วน 32.5% ซึ่งเป็นกองทุนที่จัดตั้งและบริหารจัดการโดย UOB Asset Management, ประเทศสิงคโปร์ โดยกองทุนจะเน้นลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นและเงินฝากของสถาบันการเงิน ซึ่งกระจายการลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพทั่วโลก โดยเฉพาะในเอเชียที่ให้อัตราผลตอบแทนที่ดี และมีการลงทุนในตราสารหนี้ในยุโรป สหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศเกิดใหม่ โดยให้ผลตอบแทนนับจากเดือนมกราคม  กันยายน 2562 (Year to Date) 3.49% (ที่มา: UOBAM

 
2กองทุน Manulife Asia Pacific Investment Grade Bond Fund (Class A-Acc) ในสัดส่วน 32.5% บริหารงานโดย Manulife Investment (ประเทศสิงคโปร์) ซึ่งเน้นกระจายการลงทุนในตราสารหนี้ (ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก) คุณภาพระดับ Investment Grade และปรับเปลี่ยนระยะเวลาลงทุนได้อย่างยืดหยุ่นในกรอบ 1- 5 ปี เพื่อรับประโยชน์จากวัฎจักรอัตราดอกเบี้ยในแต่ละช่วง โดยให้ผลตอบแทนนับจากเดือนมกราคม  กันยายน 2562 (Year to Date) 6.27% (ที่มา: Manulife Investment)


ส่วนการลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์และ REITs อีกประมาณ 20%  ประกอบด้วย 1) การลงทุนใน กองทุน UBS (LuxReal Estate Fund Selection-Global (class I-96 EUR Accในสัดส่วนประมาณ 13% บริหารงานโดย UBS ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้จัดการกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยกองทุนนี้จะมีการกระจายการลงทุนไปยังกองทุนอสังหาริมทรัพย์ รวม 43 กองทุนทั่วโลก ซึ่งมีอสังหาริมทรัพย์ภายใต้การจัดการมากกว่า 5,000 โครงการ และมีที่มาจากรายได้ผู้เช่าในโครงการกว่า 20,000 ราย  และ 2) การเข้าลงทุนใน กองทุนอสังหาริมทรัพย์ REITs  และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานในไทย โดยมี บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) เป็นผู้บริหารจัดการ อีกประมาณ 7%


ทั้งนี้ กองทุนจะมีการลงทุนในตราสารหนี้เอกชนไทยที่มีคุณภาพ และพันธบัตรรัฐบาลไทยประมาณ 15% โดยสัดส่วนการลงทุนในกองทุนปลายทาง จะมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับภาวะตลาดในแต่ละขณะตามดุลยพินิจผู้จัดการกองทุน


กองทุน BPLUS มีนโยบายเน้นลงทุนในกองทุน CIS กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน กองทุนอสังหาริมทรัพย์ กองทุน Private Equity หรือกองทุน ETF ทั้งใน และ/หรือ ต่างประเทศ ตั้งแต่ 2 กองทุนขึ้นไป โดยจะเข้าลงทุนในกองทุนปลายทาง เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และในขณะเดียวกันจะลงทุนในต่างประเทศ เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่เกิน 79% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยส่วนของการลงทุนในต่างประเทศมีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจผู้จัดการกองทุน  


กองทุน BPLUS มีกำหนดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) วันที่ 2– 29 พฤศจิกายน 2562 (ในวันและเวลาทำการ) มีทุนจดทะเบียน 20,000 ล้านบาท อัตราความเสี่ยงระดับกลาง (ระดับ 5) และไม่มีกำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำ โดยเสนอขายผ่าน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด และบลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด มีให้เลือกทั้งกองประเภทที่มีการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนแบบปกติ (BPLUS) และแบบรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ (BPLUS-R) และหลังช่วง IPO กองทุน BPLUS สามารถซื้อขายได้ทุกวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุน


สัดส่วนของประเภททรัพย์สินที่ลงทุน (โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือชี้ชวน)


ติดต่อขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ งานบริการนักลงทุน บลจ. ยูโอบี โทร. 0-2786-2222

************************************************

 

คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะกองทุน นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน กองทุนนี้ลงทุนในต่างประเทศ จึงมีความเสี่ยงที่ทางการของต่างประเทศอาจออกมาตรการในภาวะที่เกิดวิกฤตการณ์ที่ไม่ปกติ ทำให้กองทุนไม่สามารถนำเงินกลับเข้ามาในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับคืนเงินตามระยะเวลาที่กำหนด ผลการดำเนินงานในอดีต/ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนสามารถลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่ลงทุนได้ (non-investment grade) หรือที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ดังนั้น หากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าว ผู้ลงทุนอาจสูญเสียการลงทุนจำนวนมาก กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน (Fully Hedged) กองทุนรวมนี้กระจุกตัวในประเทศสาธารณประชาชนจีน และประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย